เมนู

ในคาถา พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า เคหนิสฺสิตํ ได้แก่
อาศัยกิเลส. บทว่า โมหเนยฺเยสุ ได้แก่ ในอารมณ์ที่ให้เกิดความหลง.
บทว่า อภพฺโพ ได้แก่ไม่เป็นดังภาชนะที่รองรับ. บทว่า ผุฏฺฐํ สมฺโพธิ
มุตฺตมํ
ได้แก่ เพื่อสัมผัสอุดมญาณกล่าวคือ พระอรหัต.
จบอรรถกถาจารสูตรที่ 1

2. สีลสูตร


ว่าด้วยปริสุทธิศีล 4


[12] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมมี
ปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่เถิด จงสำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด เมื่อท่านทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมมีปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่ สำรวม
ในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยให้โทษมาตรว่า
น้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่. อะไรเป็นกิจที่จะพึงทำต่อไป ?
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี
นอนอยู่ไม่หลับก็ดี อภิชฌาปราศไป พยาบาทปราศไป ถีนมิทธะ อุทธัจจะ
กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุก็ละได้ ความเพียรทำไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่
ฟั่นเฟือน กายรำงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ภิกษุเดินอยู่
เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับ
เป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้มีอาตาปะ มีโอตตัปปะ มีความเพียรอัน
ทำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

ภิกษุพึงเป็นสำรวม ยินสำรวม นั่ง
สำรวม นอนสำรวม คู้อวัยวะเข้าก็สำรวม
เหยียดอวัยวะออกก็สำรวม พิจารณาดู
ความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งธรรมและ
ขันธ์ทั้งหลาย ในเบืองบน ท่ามกกลาง
เบื้องล่าง ทุกภูมิโลก บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวภิกษุผู้ศึกษา ปฏิปทาอันสมควรแก่
ความสงบใจ มีสติทุกเมื่อเข้ารุ
ใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

จบสีลสูตรที่ 2

อรรถกถาสีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เธอทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์. บทว่า
สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ได้แก่มีปาติโมกข์บริบูรณ์. บทว่า ปาติโมกฺขสํวร-
สํวุตา
ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมปิดประกอบด้วยปาติโมกขสังวร-
ศีลอยู่เถิด. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้
ถึงพร้อม คือประกอบด้วยอาจาระและโคจรเถิด . บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ
ได้แก่ ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย. บทว่า ภยทสฺสาวิโน ความว่า
เป็นผู้มีปรกติเห็นโทษที่มีประมาณน้อยเหล่านั้นโดยเป็นภัย. บทว่า สมาทาย